“…พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ…
พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า…”
พระราชดำรัส “สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ”
———————————————————
“สวนป่าเบญจกิติ” สวนน้ำ สวนป่า แห่งความจงรักภักดีของชาวยาสูบ
โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง เป็นรัฐวิสาหกิจ มีภารกิจการหารายได้จากการประกอบธุรกิจในภาคเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อส่งเสริมอาชีพเกษตรกร เป็นการสร้างรากฐานความมั่นคงด้านอาชีพให้กับสังคมและประเทศ
- 19 เมษายน 2482 รัฐบาลได้จัดตั้งโรงงานยาสูบ และลงทุนซื้อที่ดินบริเวณคลองเตย ประมาณ 641 ไร่ เมื่อปี 2493 โดยเปลี่ยนสังกัดมาขึ้นตรงกับกระทรวงการคลังเมื่อปี 2497
- ปี 2535 โรงงานยาสูบได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินบริเวณนี้เป็นสวนสาธารณะเนื้อที่ประมาณ 460 ไร่ เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้สสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา ครบ 5 รอบ และได้รับพระราชทานชื่อสวนสาธารณะว่า “เบญจกิติ”
- ปี 2547 ได้เริ่มดำเนินการจัดสร้างสวนน้ำเบญจกิติ ส่วนที่ 1 โดยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2547 ได้เสด็จพระราชดำเนินทำพิธีเปิด
- วันที่ 1 มีนาคม 2559 โรงงานยาสูบส่งมอบพื้นที่โรงงานยาสูบ ส่วนที่ 2 ระยะที่ 1 และเริ่มจัดทำสวนป่าฯ โดยโรงงานยาสูบเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการก่อสร้าสวนป่าเบญจกิติ
- วันที่ 14 กรกฎาคม 2559 โรงงานยาสูบ จัดกิจกรรม “ยาสูบไทย หัวใจสีเขียว” เพื่อให้คณะผู้บริหารและพนักงานทุกหน่วยงานได้มีส่วนร่วมในการปลูกต้นไม้
วันที่ 12 สิงหาคม 2559 งานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลพระชนมพรรษา 7 รอบ นับเป็นโอกาสอันดีของโรงงานยาสูบแสดงออกถึงความจงรักภักดีและเทดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์
สวนป่า “เบญจกิติ” ส่วนที่ 2 ระยะที่ 1 มีเนื้อที่ประมาณ 61 ไร่ โดยเน้นการปลูกพันธ์ุไม้ยืนต้นพันธุ์ไม้หายาก พันธุ์ไม้หายาก พันธุ์ไม้ประจำจังหวัด 77 จังหวัด โดยมี “ต้นโมกราชินี” เป็นต้นไม้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชานุญาตให้กรมป่าไม้ใช้พระนาม “โมกราชินี” สำหรับพรรณไม้สกุลโมกมันชนิดใหม่ของโลกที่พบในวัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
ศ.ดร. ธวัชชัย สันติสุข ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านสำรวจและจำแนกพรรณไม้ กรมป่าไม้ ซึ่งสำรวจพบพรรณไม้สกุลโมกมันชนิดใหม่ของโลก ระหว่างการสำรวจพรรณพฤกษชาติ ภูเขาหินปูนทางภาคกลางได้พบไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นพรรณไม้ผลัดใบชนิดหนึ่ง ดูเผินๆ คล้ายกับโมกหลวง ซึ่งกรมป่าไม้มีอยู่ แต่เมื่อเห็นดอกทราบได้ทันทีว่า เป็นพรรณไม้ที่มีเอกลักษณ์แตกต่างจากพรรณไม้โมกหลวง หรือโมกมันทั่วๆ ไป จึงนำพรรณไม้ ใบไม้ ดอกไม้ และผลมาวิเคราะห์อีกครั้ง ก็พบว่าเป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกที่แท้จริง สกุลเดียวกับโมกมัน ที่มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า “WRIGHTIA”
กรมป่าไม้จึงได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ใช้ชื่อพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกตามพระนามว่า “โมกราชินี” หรือ WRIGHTIA SIRIKITIAE MID. & SUNTISUK สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระชานุญาต และทรงปลื้มพระทัยมาก ว่าประเทศไทยได้ค้นพบพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกชนิดนี้ ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากพบเฉพาะบริเวณเขาหินปูน บริเวณวัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ไม่พบที่อื่นอีกเลยในประเทศไทย โมกพันธุ์นี้มีอยู่ในประเทศไทยไม่เกิน 10 ต้น เป็นไม้ขนาดเล็ก ลำต้นสีน้ำตาลอ่อน ดอกสีขาวกลิ่นหอมอ่อน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง
ศักยภาพการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของพรรณไม้
ป่าไม้มีบทบาทสำคัญในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยกระบวนการสังเคราะห์แสงของใบ (photosynthesis) เพื่อสร้างอินทรียสารซึ่งมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ นามาสะสมไว้ในส่วนต่างๆ ของต้นไม้ หรือที่เรียกว่า มวลชีวภาพ (biomass) ทั้งมวลชีวภาพที่อยู่เหนือพื้นดิน ได้แก่ ลำต้น กิ่ง และใบ และมวลชีวภาพที่อยู่ใต้ดิน คือ ราก ในขณะเดียวกัน ต้นไม้ก็มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศโดยกระบวนการหายใจของส่วนต่างๆ ได้แก่ ลำต้น กิ่ง ใบ และราก เรียกว่า autotrophic respiration ดังนั้น ปริมาณคาร์บอนสุทธิจากกระบวนการแลกเปลี่ยนก๊าซของต้นไม้จึงเป็นปริมาณคาร์บอนที่สะสมอยู่ในมวลชีวภาพของต้นไม้ ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนของป่าไม้ชนิดต่างๆ นอกจากนี้ เศษซากพืชที่ตายแล้ว (litter) ได้แก่ กิ่ง ใบ ดอก และผล ตลอดจนรากฝอย และอินทรียวัตถุ ในดิน (organic matter) จะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ต่างๆ และปลดปล่อยคาร์บอนกลับสู่บรรยากาศ ในรูปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เรียกว่า heterotrophic respiration แต่คาร์บอนส่วนหนึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นสารประกอบที่มีโครงสร้างซับซ้อนทาให้เอนไซม์ที่หลั่งจากจุลินทรีย์ไม่สามารถย่อยสลายได้ เช่น สารประกอบฮิวมัส (humus) ซึ่งจัดเป็นสารประกอบที่เสถียรและมักพบเป็นรูปแบบสุดท้ายของคาร์บอนที่สะสมอยู่ในดิน ศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของป่าไม้สามารถพิจารณาจากการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของป่า ทั้งนี้ การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของป่าธรรมชาติแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับปริมาณคาร์บอน (carbon content) ที่สะสมในส่วนต่างๆ ของต้นไม้แต่ละชนิดที่เป็นองค์ประกอบของป่าธรรมชาติ และผลผลิตมวลชีวภาพของป่า ในทานองเดียวกันการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของสวนป่าหรือป่าปลูกขึ้นอยู่กับปริมาณคาร์บอนและผลผลิตมวลชีวภาพของพรรณไม้ที่ปลูก โดยทั่วไปปริมาณคาร์บอนที่สะสมในมวลชีวภาพมีการแปรผันไม่มากนักโดย ทาให้การแปรผัน ของการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของป่าธรรมชาติหรือสวนป่าส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของมวลชีวภาพ ของป่าหรือสวนป่ามากกว่าปริมาณคาร์บอนที่สะสมในมวลชีวภาพ ดังนั้น ป่าธรรมชาติหรือสวนป่าที่มีมวลชีวภาพหรือการเติบโตมากจะมีการกักเก็บคาร์บอนมากด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม มวลชีวภาพของป่าธรรมชาติมีการแปรผันขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ชนิดป่า ชนิดไม้ที่เป็นองค์ประกอบของป่าความหนาแน่นของป่า สภาพภูมิประเทศ และปัจจัยสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในขณะที่มวลชีวภาพของสวนป่ามีการแปรผันขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ชนิดไม้และลักษณะทางพันธุกรรม อายุ ระยะปลูกหรือความหนาแน่น และคุณภาพท้องที่ เป็นต้น
แหล่งสะสมคาร์บอนของป่าไม้
แหล่งสะสมคาร์บอน (carbon pool) เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของระบบนิเวศป่าไม้ ซึ่ง Watson (2009) ได้จำแนกเป็น 6 แหล่ง ดังนี้
1) มวลชีวภาพเหนือดิน (living above-ground biomass) ได้แก่ ทุกส่วนของต้นไม้ที่อยู่เหนือดิน อันได้แก่ ลำต้น กิ่ง ใบ ดอก และผล รวมทั้งพืชพรรณอื่นๆ
2) มวลชีวภาพใต้ดิน (living below-ground biomass) ได้แก่ ส่วนของต้นไม้ที่อยู่ใต้ดิน คือ ราก
3) ไม้ตาย (dead organic matter in wood) ได้แก่ ต้นไม้ที่ล้ม หรือยืนต้นตาย
4) ซากพืช (dead organic matter in litter) ได้แก่ ส่วนต่างๆ ของต้นไม้ที่ร่วงหล่นสู่ดิน ได้แก่ กิ่ง ก้าน ใบ ดอก และผล
5) อินทรียวัตถุในดิน (soil organic matter)
6) ผลิตภัณฑ์ไม้ (harvested wood product) ได้แก่ ส่วนของเนื้อไม้ที่นำไปใช้ประโยชน์ภายหลังการตัดฟัน
ทั้งนี้ อาจมีการหมุนเวียน หรือแลกเปลี่ยนคาร์บอนระหว่างแหล่งสะสมคาร์บอนต่างๆ ทำให้ป่าไม้ ที่มีการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เรียกว่า แหล่งกักเก็บคาร์บอน (carbon sink) ในทางตรงข้าม ป่าไม้ที่มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เรียกว่า แหล่งปลดปล่อยคาร์บอน (carbon source) โดยทั่วไปป่าทุติยภูมิ (secondaryforest)หรือสวนป่าที่มีต้นไม้ที่กำลังเติบโตเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่มีศักยภาพสูงหรือสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากในขณะที่ป่าไม้สมบูรณ์ที่มีอายุมากมีการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใกล้เคียงกับการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรืออาจกล่าวได้ว่า มีการหมุนเวียนคาร์บอนอยู่ในภาวะสมดุล (carbon neutral) หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาณคาร์บอน IPCC (1996) ได้กำหนดแหล่งสะสมคาร์บอนในการประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภาคป่าไม้ออกเป็น 5 แหล่ง ได้แก่ มวลชีวภาพเหนือดิน มวลชีวภาพใต้ดิน ไม้ตาย ซากพืช และอินทรียวัตถุในดิน โดยไม่ได้นำคาร์บอนที่มีอยู่ในไม้ซึ่งนาไปใช้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มาคิดคำนวณ แต่ในรายงานของ IPCC (2006) ได้ให้ข้อแนะนาในการประเมินการเปลี่ยนแปลงปริมาณคาร์บอนจากเนื้อไม้ที่ตัดฟัน เพื่อนำไปใช้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่างไรก็ตาม การประเมินเพื่อจัดทาบัญชีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อคำนวณการดูดซับก๊าซเรือนกระจกภายใต้โครงการ CDM ภาคป่าไม้ สามารถตัดแหล่งสะสมคาร์บอน ที่จะนำมาคิดในโครงการ CDM ภาคป่าไม้บางแหล่งออกได้ หากสามารถแสดงให้เห็นอย่างชัดเจน ว่าแหล่งสะสมคาร์บอนที่ไม่ได้นามาคิดคำนวณเหล่านั้นไม่มีการเพิ่มการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมมนุษย์ และแหล่งคาร์บอนที่ไม่นำมาคิดคำนวณจะนำมาออกใบรับรอง CERs ไม่ได้ สำหรับโครงการ CDM ภาคป่าไม้ขนาดเล็กนั้นจะพิจารณาแหล่งสะสมคาร์บอนเพียง 2 แหล่งเท่านั้น คือมวลชีวภาพเหนือดินและมวลชีวภาพใต้ดิน
ปริมาณคาร์บอน
ปริมาณคาร์บอน (carbon content) ที่สะสมในมวลชีวภาพส่วนต่างๆ ของต้นไม้ ได้แก่ ลำต้น กิ่ง ใบ และราก มีการแปรผันระหว่างชนิดของพรรณไม้ไม่มากนักโดย IPCC (1996) กำหนดให้ค่า default value ของปริมาณคาร์บอนในมวลชีวภาพมีค่าร้อยละ 50 ของน้ำหนักแห้ง แต่ต่อมาเมื่อมีข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติมมากขึ้น IPCC (2006) จึงได้กำหนดให้ค่า default value ของปริมาณคาร์บอนสะสมในมวลชีวภาพมีค่าร้อยละ 47 ของน้ำหนักแห้งสำหรับการรวบรวมเอกสารเพื่อจัดทำคู่มือในครั้งนี้ พบว่า ปริมาณคาร์บอนในพรรณไม้ชนิดต่างๆ มีการแปรผันระหว่างส่วนของต้นไม้ (ลำต้น กิ่ง ใบ และราก) แต่มีความใกล้เคียงกันระหว่างพรรณไม้ แต่ละชนิด ทั้งนี้ ปริมาณคาร์บอนในลำต้นของพรรณไม้ชนิดต่างๆ มีค่าค่อนข้างใกล้เคียงกัน โดยส่วนใหญ่ มีค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 48 ของน้ำหนักแห้ง ในขณะที่ปริมาณคาร์บอนในกิ่ง ใบ และราก มีการแปรผันค่อนข้างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณคาร์บอนในใบมีการแปรผันระหว่างชนิดของพรรณไม้มากกว่า ส่วนอื่นๆ ในที่นี้จึงให้ความสำคัญกับปริมาณคาร์บอนในลำต้นเพราะมวลชีวภาพของลำต้นมีสัดส่วนสูงกว่ามวลชีวภาพส่วนอื่นๆ ทั้งนี้ สามารถสรุปเป็นปริมาณคาร์บอนในส่วนต่างๆ ของชนิด/กลุ่มของพรรณไม้ได้ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ปริมาณคาร์บอน (carbon content) ของชนิด/กลุ่มพรรณไม้ต่างๆ
ชนิด/กลุ่มพรรณไม้ | ปริมาณคาร์บอน (ร้อยละของน้ำหนักแห้ง) | ||||
ลำต้น | กิ่ง | ใบ | ราก | เฉลี่ย | |
สัก | 48.10 | 46.22 | 47.01 | 46.07 | 48.13 |
ยูคาลิปตัส | 48.24 | 49.46 | 52.30 | 49.19 | 49.88 |
อะคาเซีย | 48.09 | 46.13 | 49.45 | 46.51 | 47.66 |
กระถินยักษ์ | 48.19 | 47.24 | 50.37 | 49.19 | 48.75 |
โกงกาง | 47.57 | 47.49 | 46.41 | na | 47.15 |
พืชเกษตร – ยางพารา – ปาล์มน้ามัน |
48.01 41.30 |
50.55 43.00 |
52.77 42.00 |
47.88 39.40 |
49.90 41.30 |
ป่าธรรมชาติ (ไม้โตช้า) สวนป่าปลูกผสมผสาน และสวนป่าในเมือง |
48.72 | 47.28 | 47.39 | 45.92 | 47.33 |
หมายเหตุ na หมายถึง ไม่มีข้อมูล
สัก
ปริมาณคาร์บอนในมวลชีวภาพของสักในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาปริมาณคาร์บอน ในลำต้นของสักชั้นอายุต่างๆ เช่น ทศพร และคณะ (2548) พบว่าปริมาณคาร์บอนในลำต้นสัก ในสวนป่าทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี มีการแปรผันตามอายุของต้นไม้ (ร้อยละ 44.35-50.07 ของน้ำหนักแห้ง) โดยต้นไม้อายุมากมีปริมาณคาร์บอนในเนื้อไม้มากกว่าไม้อายุน้อย ในขณะที่ปริมาณคาร์บอนในลำต้นของสักชั้นอายุต่างๆ ในสวนป่าศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และสวนป่านาด้วง-หนองปลาดุก จังหวัดเลย มีค่าใกล้เคียงกัน (ประมาณร้อยละ 49-50 ของน้ำหนักแห้ง) และจากการศึกษาของประดิษฐ์ และคณะ (2551) พบว่า ปริมาณคาร์บอนในส่วนของเนื้อไม้ (ลำต้น กิ่ง และ ราก) มีค่าใกล้เคียงกัน (ปริมาณร้อยละ 45-46 ของน้ำหนักแห้ง) แต่มีค่าน้อยกว่าในส่วนของใบ (ร้อยละ 49 ของน้ำหนักแห้ง) ดังนั้น สามารถสรุปได้ว่าปริมาณคาร์บอนเฉลี่ยในลาต้นมีค่าเท่ากับร้อยละ 48.10 ของน้ำหนักแห้งและปริมาณคาร์บอนเฉลี่ยจากทุกส่วนของสักที่รวบรวมได้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 48.13 ของน้ำหนักแห้ง (ตารางที่ 1) ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับ default value ของพรรณไม้ในเขตร้อนตามข้อกำหนดของ IPCC (2006)
ยูคาลิปตัส
ปริมาณคาร์บอนในส่วนต่างๆ ของยูคาลิปตัสชนิดต่างๆ ที่นิยมปลูกมากในประเทศไทยจากการรวบรวม พบว่า ปริมาณคาร์บอนในเนื้อไม้ ได้แก่ ลำต้น กิ่ง และรากของไม้โตเร็วมีค่าใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 48.24-49.46 ในขณะที่ปริมาณคาร์บอนในใบมีค่าค่อนข้างสูงกว่าส่วนของเนื้อไม้ โดยมีค่าเฉลี่ยถึงร้อยละ 52.30 (ชลธิดา, 2550; ประดิษฐ์ และคณะ, 2551; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, 2552) นอกจากนี้ปริมาณคาร์บอนในรากยังมีการศึกษากันอยู่น้อยและจากข้อมูลที่มีอยู่พบว่ามีการแปรผันระหว่างชนิดน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนอื่นๆ ของต้นไม้จากข้อมูลข้างต้นทำให้สรุปได้ว่าปริมาณคาร์บอนเฉลี่ยของลำต้นและเฉลี่ยจากทุกส่วนของ ยูคาลิปตัส ที่ปลูกในประเทศไทยมีค่าเท่ากับร้อยละ 48.24 และ 49.88 ของน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ (ตารางที่ 1)ซึ่งค่อนข้างสูงกว่า default value ของพรรณไม้ในเขตร้อนตามข้อกำหนดของ IPCC (2006) แต่ใกล้เคียงกับปริมาณคาร์บอนในลำต้นและในส่วนต่างๆ ของยูคาลิปตัสในธรรมชาติและสวนป่าในต่างประเทศ
อะคาเซีย
พรรณไม้สกุลอะคาเซียเป็นไม้โตเร็วต่างถิ่นที่นิยมปลูกกันมากในประเทศไทยรองลงมาจากยูคาลิปตัส เช่น กระถินเทพา และกระถินณรงค์ จากการรวบรวมข้อมูล พบว่า ปริมาณคาร์บอนในเนื้อไม้ (ลำต้น กิ่ง และราก) ของกระถินเทพา มีการแปรผันค่อนข้างสูง ในภาพรวมปริมาณคาร์บอนเฉลี่ยของลำต้นและเฉลี่ยจากทุกส่วนของพรรณไม้สกุลอะคาเซียมีค่าเท่ากับร้อยละ 48.09 และ 47.66 ของน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ (ตารางที่ 1) อย่างไรก็ตาม ข้อมูลปริมาณคาร์บอนในส่วนต่างๆ ของพรรณไม้สกุลอะคาเซียยังมีการศึกษากันค่อนข้างน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณคาร์บอนในราก
กระถินยักษ์
กระถินยักษ์เป็นพรรณไม้โตเร็วต่างถิ่นอีกชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกกันในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกเพื่อเป็นเชื้อเพลิงชีวะมวล จากการรวบรวมปริมาณคาร์บอนในส่วนต่างๆ ของกระถินยักษ์ พบว่า มีค่าใกล้เคียงกับพรรณไม้ชนิดอื่นๆ และมีการแปรผันระหว่างส่วนของต้นไม้ค่อนข้างมาก โดยปริมาณคาร์บอนในใบมีค่าเฉลี่ยมากกว่าในส่วนของราก ลำต้น และกิ่ง ตามลำดับ และสามารถสรุปได้ว่า ปริมาณคาร์บอนเฉลี่ยของลำต้นและเฉลี่ยจากทุกส่วนของกระถินยักษ์มีค่าเท่ากับร้อยละ 48.19 และ 48.75 ของน้ำหนักแห้ง ตามลาดับ (ตารางที่ 1)
พรรณไม้ป่าชายเลน
ในปัจจุบันการปลูกป่าชายเลน ทั้งการปลูกเพื่อเศรษฐกิจ และการปลูกเพื่อฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรมกำลังได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จากการรวบรวมข้อมูลปริมาณคาร์บอนของพรรณไม้ในป่าชายเลน พบว่า มีการศึกษาไว้ค่อนข้างมาก เช่น การศึกษาปริมาณคาร์บอนสะสมในพรรณไม้ชายเลนชนิดต่างๆ ในจังหวัดตราด โดยดาวรุ่ง และทนุวงศ์ (ม.ป.ป.) พบว่า พรรณไม้ชายเลน แต่ละชนิดมีปริมาณคาร์บอนสะสมในลำต้น กิ่ง และใบ ค่อนข้างใกล้เคียงกัน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 46.61 ของน้ำหนักแห้ง จากการวิเคราะห์ปริมาณคาร์บอนในมวลชีวภาพของพรรณไม้ของป่าชายเลน จำนวน 11 ชนิด ในจังหวัดชุมพร และจำนวน 10 ชนิด ในจังหวัดระนอง โดยคณะวนศาสตร์ (2550) พบว่า ปริมาณคาร์บอนมีการแปรผันไปตามส่วนต่างๆ ของต้นไม้ โดยมีค่าเฉลี่ยของจากทุกส่วนของพรรณไม้ ป่าชายเลน เท่ากับ ร้อยละ 46.33 ของน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ และจากการรวบรวมข้อมูลปริมาณคาร์บอนในส่วนต่างๆ ของโกงกางใบเล็ก และโกงกางใบใหญ่ สามารถสรุปได้ว่าปริมาณคาร์บอนเฉลี่ยของลำต้นและเฉลี่ยจากทุกส่วนของโกงกาง มีค่าเท่ากับร้อยละ 47.57 และ 47.15 ของน้ำหนักแห้ง ตามลำดับ (ตารางที่ 1)
พืชเกษตร
ยางพาราและปาล์มน้ามันเป็นพืชเกษตรที่ได้รับความสนใจในการปลูกภายใต้โครงการ CDM ภาคป่าไม้ แต่ข้อมูลปริมาณคาร์บอนในส่วนต่างๆ ของยางพาราและปาล์มน้ำมันยังมีอยู่น้อยมาก แต่จากข้อมูลที่มีในขณะนี้พบว่า ปริมาณคาร์บอนที่สะสมในส่วนต่างๆ ของยางพารามีการแปรผันระหว่างชุดของข้อมูล โดยยางพาราที่ปลูก ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดาริ จังหวัดสกลนคร มีปริมาณคาร์บอนค่อนข้างสูง โดยเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 49.90 ของน้ำหนักแห้ง (ประดิษฐ์ และคณะ, 2551) ในขณะที่ข้อมูลของยางพาราที่ปลูก ณ ศูนย์วิจัยยาง ในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ มีปริมาณคาร์บอนค่อนข้างต่ำและมีการแปรผันค่อนข้างต่ำด้วยเช่นกัน โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 45 ของน้ำหนักแห้ง (อารักษ์ และคณะ, ม.ป.ป.) แต่ข้อมูลดังกล่าวใกล้เคียงกับปริมาณคาร์บอนในยางพาราที่ศึกษาในประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีค่าเท่ากับร้อยละ 45 ของน้ำหนักแห้งเช่นกัน (Wan, 1994) สำหรับในคู่มือฉบับนี้ ได้วิเคราะห์ค่าเฉลี่ยจากข้อมูลที่มีอยู่ สามารถสรุปได้ว่ายางพารามีปริมาณคาร์บอนเฉลี่ยในลำต้นเท่ากับร้อยละ 48 ของน้ำหนักแห้ง ซึ่งใกล้เคียงกับไม้ป่าชนิดอื่นๆ ที่ศึกษา (ตารางที่ 1) ในขณะที่ปริมาณคาร์บอนในส่วนต่างๆ ของปาล์มน้ำมันที่ปลูกในประเทศไทยยังไม่มีข้อมูล แต่ข้อมูลที่พบเป็นการปลูกในประเทศอินโดนีเซียซึ่งมีค่าค่อนข้างต่ำ เพียงร้อยละ 39.4-43.0 ของน้ำหนักแห้งเท่านั้น ดังนั้น ข้อมูลที่นำเสนอนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเท่านั้นและยังจาเป็นต้องค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลปริมาณคาร์บอนของทั้งยางพาราและปาล์มน้ำมันเพิ่มเติมเพื่อให้การประเมินการกักเก็บคาร์บอนมีความถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้นต่อไป
พรรณไม้อื่นๆ
พรรณไม้อื่นๆ ที่ได้รับความสนใจนามาปลูกภายใต้โครงการ CDM ภาคป่าไม้และนามารวบรวมไว้ในคู่มือนี้ จำแนกตามอัตราการเติบโตและรูปแบบการใช้ประโยชน์ ได้แก่ พรรณไม้พื้นเมืองโตช้า ได้แก่ พะยูง ประดู่ป่า ตะเคียนทอง มะค่าโมง และยางนา พรรณไม้อเนกประสงค์ ได้แก่ ขี้เหล็กบ้าน สะเดาและมะขาม และพรรณไม้ปลูกในเมือง ได้แก่ ราชพฤกษ์ มะฮอกกานี สัตบรรณ ประดู่บ้าน อินทนิลน้ำ และปีบ แต่ข้อมูลปริมาณคาร์บอนในส่วนต่างๆ ของพรรณไม้เหล่านี้ยังมีอยู่น้อยมาก สาหรับข้อมูลเบื้องต้นที่สามารถรวบรวมได้ในขณะนี้เป็นข้อมูลปริมาณคาร์บอนของพรรณไม้ป่า ที่ขึ้นอยู่ในป่าชนิดต่างๆ ของประเทศ ทั้งป่าที่ไม่ผลัดใบ (evergreen forest) และป่าผลัดใบ (deciduous forest) โดยที่ปริมาณคาร์บอนของพรรณไม้ป่าดิบแล้งสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา มีค่าเฉลี่ยของปริมาณคาร์บอน ในส่วนต่างๆ ได้แก่ ลำต้น กิ่ง และ ใบ ใกล้เคียงกัน โดยมีปริมาณคาร์บอนเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ ร้อยละ 48.07 ของน้ำหนักแห้ง ในขณะที่พรรณไม้ชนิดต่างๆ ในป่าผสมผลัดใบ หรือป่าเบญจพรรณ (mixed deciduous) ต้นน้ำแม่กลอง จังหวัดกาญจนบุรี มีปริมาณคาร์บอนสะสมในส่วนของ ลำต้นค่อนข้างใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 48.13-50.17 ของน้ำหนักแห้ง) และมีค่าเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 49.01 ของน้ำหนักแห้ง (ภาณุมาศ และสิริรัตน์, 2549) สาหรับพรรณไม้ที่มีความสำคัญทางนิเวศวิทยาของป่าเต็งรัง สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา มีปริมาณคาร์บอนเฉลี่ยในลำต้นค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับปริมาณคาร์บอนในป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณที่ได้รายงาน โดยมีค่าเท่ากับ ร้อยละ 50.56ของน้ำหนักแห้ง (ภาณุมาศ และคณะ, 2552) นอกจากนี้ยังพบว่า ปริมาณคาร์บอนของพรรณไม้พื้นเมืองบางชนิด เช่น ประดู่ป่า พะยูง และแดง ที่ปลูกในรูปของสวนป่าก็มีปริมาณคาร์บอนในส่วนต่างๆ ของต้นไม้ใกล้เคียงกับพรรณไม้ที่พบในป่าธรรมชาติ ดังนั้น ในการรวบรวมข้อมูลปริมาณคาร์บอนในส่วนต่างๆ ของพรรณไม้อื่นๆ จึงไม่ได้จำแนกเป็นกลุ่มเนื่องจากมีการแปรผันน้อย โดยสามารถสรุปได้ว่าปริมาณคาร์บอนเฉลี่ยของลาต้นและเฉลี่ยจากทุกส่วน มีค่าเท่ากับร้อยละ 48.72 และ 47.33 ของน้าหนักแห้ง ตามลำดับ (ตารางที่ 1)
การเติบโต มวลชีวภาพ และการกักเก็บคาร์บอนของพรรณไม้
ศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนของพรรณไม้แต่ละชนิดขึ้นอยู่กับอัตราการเติบโต พรรณไม้ที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วสามารถสะสมคาร์บอนในส่วนต่างๆ ของต้นไม้มากกว่าพรรณไม้ที่เติบโตช้ากว่า ในการประเมินเพื่อตรวจสอบการดาเนินโครงการ CDM ภาคป่าไม้ แหล่งสะสมคาร์บอนของป่าไม้ที่สำคัญได้แก่ มวลชีวภาพเหนือดิน และมวลชีวภาพใต้ดิน แต่การสะสมคาร์บอนในมวลชีวภาพใต้ดินมีการแปรผันสูงและประเมินได้ค่อนข้างยาก ดังนั้น การประเมินการกักเก็บคาร์บอนของ สวนป่าหรือป่าปลูกจึงให้ความสำคัญกับมวลชีวภาพเหนือดินของพรรณไม้ที่ปลูกมากกว่าแหล่งสะสมคาร์บอนอื่นๆ และใช้เป็นฐานในการประเมินการสะสมคาร์บอนในแหล่งอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนาอัตราส่วนระหว่างมวลชีวภาพเหนือดินและมวลชีวภาพใต้ดิน หรือที่เรียกว่าอัตราส่วนระหว่างรากและลาต้น (root/shoot ratio, R/S ratio) มาใช้ในการประเมินมวลชีวภาพใต้ดิน (Watson, 2009) อย่างไรก็ตามพรรณไม้แต่ละชนิดมีศักยภาพในการสะสมคาร์บอนในมวลชีวภาพเหนือดิน หรืออัตราการเพิ่มพูนของมวลชีวภาพเหนือดิน ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ ในการนาข้อมูลมวลชีวภาพเหนือดินและอัตราการเพิ่มพูนมวลชีวภาพเหนือดิน มาใช้เพื่อกำหนดเป็นค่า default value ของพรรณไม้แต่ละชนิดมีข้อควรพิจารณาในประเด็นดังต่อไปนี้
– พรรณไม้แต่ละชนิดมีอัตราการเติบโตในแต่ละช่วงอายุแตกต่างกันควรมีการจำแนกชั้นอายุ (age class) ของข้อมูลมวลชีวภาพของพรรณไม้ที่นามาใช้
– พรรณไม้แต่ละชนิดมีอัตราการเติบโตแตกต่างกันตามคุณภาพท้องที่ (site quality) ควรมีการจำแนกข้อมูลมวลชีวภาพของพรรณไม้ที่นามาใช้ตามคุณภาพท้องที่
– ควรนาข้อมูลอัตราการเติบโตของพรรณไม้ที่ปลูกในแต่ละท้องที่มาใช้ร่วมกับสมการเพื่อประเมินมวลชีวภาพ และ/หรือ ตารางปริมาตรไม้ (volume table)
ในคู่มือเล่มนี้จึงรวบรวมข้อมูลการเติบโต มวลชีวภาพเหนือดิน อัตราส่วนระหว่างมวลชีวภาพใต้ดินและมวลชีวภาพเหนือดิน และความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปี (mean annual increment, MAI) ของอัตราการเติบโต และมวลชีวภาพของพรรณไม้ที่มีศักยภาพสาหรับการส่งเสริมเพื่อปลูกภายใต้โครงการ CDM ภาคป่าไม้ ในแต่ละชนิด/กลุ่มของพรรณไม้จำแนกตามศักยภาพของพื้นที่ ได้แก่ พื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง และเหมาะสมน้อย โดยบางส่วนเชื่อมโยงกับศักยภาพของพื้นที่ ซึ่งเป็นการจำแนกสมรรถนะของพื้นที่ในภาพรวม และบางส่วนใช้การจำแนกศักยภาพของพื้นที่จากข้อมูลที่มีตามข้อมูลชุดดินและปริมาณน้าฝนของงานวิจัย อย่างไรก็ตาม มวลชีวภาพของพรรณไม้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับความหนาแน่น หรือระยะปลูก ดังนั้น การรวบรวมข้อมูลเพื่อนามาสรุปในคู่มือเล่มนี้จึงใช้ความหนาแน่น หรือระยะปลูก ที่เป็นที่นิยมโดยทั่วไปของพรรณไม้แต่ละชนิด อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนระหว่างมวลชีวภาพใต้ดินและมวลชีวภาพเหนือดินของพรรณไม้ยังมีการศึกษากันน้อยมาก ข้อมูลที่นามาสรุปจึงเป็นข้อมูลจากงานวิจัยจานวนน้อยเท่านั้น
สัก
สักมีอัตราการเติบโตปานกลาง เนื้อไม้มีมูลค่าสูง และรอบตัดฟันยาว สักที่ปลูกในประเทศไทย ส่วนใหญ่มีระยะปลูกเริ่มต้น 4×4 เมตร มีรอบตัดฟันประมาณ 30-40 ปี และมีการตัดขยายระยะ (thinning) 2-3 ครั้ง ในระหว่างรอบตัดฟัน จากการศึกษาของคณะวนศาสตร์ (2552) พบว่าไม้เศรษฐกิจในกลุ่ม ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง มูลค่าของเนื้อไม้สูง และรอบตัดฟันยาว โดยใช้สักเป็นกรณีศึกษามีเส้นผ่าน-ศูนย์กลางเพียงอกเพิ่มขึ้นตามอายุในรูปแบบความสัมพันธ์แบบฟังก์ชันยกกาลัง (power function) และความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก (diameter at breast height, DBH) ประมาณ 1.0 เซนติเมตร/ปี สาหรับการรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ ความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของความสูงและเส้นผ่าน-ศูนย์กลางเพียงอกมีค่าระหว่าง 0.75-1.50 เมตร/ปี และ 0.94-1.62 เซนติเมตร/ปี ตามลาดับ ขึ้นอยู่กับศักยภาพของพื้นที่ (ตารางที่ 2) จากการรวบรวมข้อมูลมวลชีวภาพเหนือดินของสักพบว่า มีการแปรผันค่อนข้างสูงขึ้นอยู่กับอายุ และสภาพของท้องที่ (ชิงชัย และทศพร, 2544; ทศพร และคณะ, 2548) ในขณะที่มวลชีวภาพเหนือดิน ของสักในท้องที่เดียวกันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอายุ นอกจากนี้ มวลชีวภาพยังขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของต้นไม้ (tree density) ดังนั้นในบางชั้นอายุที่มีอายุมากอาจมีมวลชีวภาพน้อยกว่าหากมีการตัดขยายระยะทำให้ความหนาแน่นหรือจำนวนต้นไม้ต่อพื้นที่ลดลงและอัตราการเติบโตในช่วงแรกยังเพิ่มขึ้นไม่มาก
ตารางที่ 2 ความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของความสูง (H) และเส้นผ่านศูนย์กลาง เพียงอก (DBH) ของชนิด/กลุ่มพรรณไม้ต่างๆ
ชนิด/กลุ่มพรรณไม้ | ศักยภาพของพื้นที่ | ความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปี | |
H (ม./ปี) | DBH (ซม./ปี) | ||
สัก | เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมน้อย |
1.50 1.08 0.75 |
1.62 1.12 0.94 |
ยูคาลิปตัส | เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมน้อย |
4.45 3.86 3.85 |
2.96 2.64 2.49 |
กระถินเทพา | เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมน้อย |
3.10 2.79 1.90 |
2.64 2.49 1.82 |
กระถินณรงค์ | เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมน้อย |
2.96 3.00 2.65 |
2.38 2.99 2.44 |
กระถินยักษ์ | เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมน้อย |
2.11 1.63 1.28 |
1.29 1.09 0.90 |
โกงกาง | ไม่ได้จำแนกพื้นที่ | 0.68 | 0.79 |
ยางพารา | ไม่ได้จำแนกพื้นที่ | 1.12 | 1.09 |
ปาล์มน้ำมัน | na | na | na |
ป่าธรรมชาติ (ไม้โตช้า) | ไม่ได้จำแนกพื้นที่ | 0.74 | 0.76 |
สวนป่าปลูกผสมผสาน | ไม่ได้จำแนกพื้นที่ | 1.90 | 2.16 |
สวนป่าในเมือง | ไม่ได้จำแนกพื้นที่ | 1.06 | 2.77 * |
หมายเหตุ * หมายถึง เส้นผ่านศูนย์กลางที่ระดับชิดดิน Na หมายถึง ไม่มีข้อมูล
ในคู่มือเล่มนี้จำแนกอัตราความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของมวลชีวภาพเหนือดินของสักตามศักยภาพของพื้นที่ สักที่ปลูกในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรี (พื้นที่มีความเหมาะสมมาก) มีความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีสูงกว่าสักที่ปลูกในพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่และแพร่ (พื้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง) และจังหวัดลำพูน (พื้นที่มีความเหมาะสมน้อย) โดยมีความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีเท่ากับ 0.96, 0.77 และ 0.61 ตัน/ไร่/ปีตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า สักมีอัตราส่วนของมวลชีวภาพใต้ดินและมวลชีวภาพเหนือดินที่แปรผันสูงมาก (0.06-0.43) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.27 (ตารางที่ 3) ซึ่งเป็นค่าที่ใกล้เคียงกับ default value ของพรรณไม้ป่าผลัดใบในเขตร้อน (เท่ากับ 0.28) ที่กาหนดโดย IPCC (2006) และจากการเปรียบเทียบศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมของสักในพื้นที่มีความเหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง และเหมาะสมน้อย พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.59, 0.47 และ 0.37 ตัน/ไร่/ปี หรือคิดเป็นอัตราการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยเท่ากับ 2.16, 1.72 และ 1.36 ตัน/ไร่/ปี ตามลำดับ (ตารางที่ 4)
ยูคาลิปตัส
จากการรวบรวมข้อมูลมวลชีวภาพเหนือดินของยูคาลิปตัสชนิดต่างๆ เช่น ยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส (E. camaldulensis) ยูคาลิปตัส ยูโรฟิลล่า (E. urophylla) ที่ปลูกในท้องที่ต่างๆ ของประเทศไทย พบว่า มีการแปรผันไปตามชนิด ระยะปลูก ลักษณะพื้นที่ และการจัดการ ส่วนใหญ่แล้วระยะปลูกที่แตกต่างกัน ทำให้มีจำนวนต้นไม้ต่อพื้นที่แตกต่างกัน ทำให้สวนป่า (อายุเท่ากัน) ที่มีจานวนต้นต่อพื้นที่มากกว่ามีมวลชีวภาพเหนือดินและความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของมวลชีวภาพเหนือดินต่อพื้นที่ได้มากกว่า (กอบศักดิ์, 2540) นอกจากนี้ มวลชีวภาพเหนือดินของยูคาลิปตัสยังมีความแตกต่างตามคุณภาพของท้องที่ซึ่งจำแนกด้วยสภาพภูมิอากาศและลักษณะของชุดดิน (วรวิทย์, 2548; Diloksumpun, 2009) และจากการวิเคราะห์ความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของมวลชีวภาพเหนือดินของยูคาลิปตัสตามศักยภาพของพื้นที่ พบว่า ยูคาลิปตัสที่ปลูกในพื้นที่เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง และเหมาะสมน้อย มีความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีเท่ากับ 2.49, 1.95 และ 1.29 ตัน/ไร่/ปี ตามลาดับ (ตารางที่ 3)
ตารางที่ 3 อัตราส่วนของมวลชีวภาพใต้ดินและมวลชีวภาพเหนือดิน (root/shoot ratio) และความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของมวลชีวภาพของชนิด/กลุ่มพรรณไม้ต่างๆ
ชนิด/กลุ่มพรรณไม้ | พื้นที่ | Root/shoot ratio | มวลชีวภาพเหนือดิน | มวลชีวภาพรวม | ||
(1) | (2) | (1) | (2) | |||
สัก | H M L |
0.27 | 0.96 0.77 0.61 |
6.01 4.82 3.80 |
1.22 0.98 0.77 |
7.64 6.12 4.83 |
ยูคาลิปตัส | H M L |
0.39 | 2.49 1.95 1.29 |
15.54 12.19 8.07 |
3.46 2.71 1.79 |
21.61 16.94 11.21 |
กระถินเทพา | H M L |
0.13 | 3.06 2.22 2.01 |
19.15 13.90 12.57 |
3.46 2.51 2.27 |
21.64 15.71 14.20 |
กระถินณรงค์ | H M L |
2.21 1.75 1.15 |
15.93 10.92 7.20 |
2.50 1.98 1.30 |
18.00 12.34 8.14 |
|
กระถินยักษ์ | H M L |
0.39 | 2.66 1.97 0.32 |
16.62 12.34 2.01 |
3.70 2.74 0.44 |
23.10 17.15 2.79 |
โกงกาง | N | 0.48 | 1.06 | 6.62 | 1.57 | 9.80 |
ยางพารา | N | 0.33 | 1.80 | 11.28 | 2.40 | 15.00 |
ปาล์มน้ำมัน | N | 0.41 | 1.19 | 7.41 | 1.67 | 10.45 |
ป่าธรรมชาติ (ไม้โตช้า) | N | 0.26 | 0.42 | 2.61 | 0.53 | 3.29 |
สวนป่าปลูกผสมผสาน | N | 0.33 | 0.61 | 3.84 | 0.82 | 5.11 |
สวนป่าในเมือง | N | 0.28 | 0.52 | 3.27 | 0.67 | 4.19 |
หมายเหตุ H หมายถึง พื้นที่เหมาะสมมาก M หมายถึง พื้นที่เหมาะสมปานกลาง L หมายถึง พื้นที่เหมาะสมน้อย N หมายถึง ไม่ได้จำแนกพื้นที่
(1) หน่วยเป็น ตัน/ไร่/ปี (2) หน่วยเป็น ตัน/เฮกแตร์/ปี
ตารางที่ 4 การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมของชนิด/กลุ่มพรรณไม้ต่างๆ
ชนิด/ กลุ่มพรรณไม้ | ศักยภาพของพื้นที่ | การกักเก็บคาร์บอน | |||
(1) | (2) | (1) | (2) | ||
สัก | เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมน้อย |
0.59 0.47 0.37 |
3.67 2.94 2.32 |
2.16 1.72 1.36 |
13.44 10.77 8.49 |
ยูคาลิปตัส | เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมน้อย |
1.66 1.30 0.86 |
10.37 8.13 5.38 |
6.09 4.77 3.15 |
38.03 29.82 19.73 |
กระถินเทพา | เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมน้อย |
1.66 1.20 1.09 |
10.39 7.54 6.82 |
6.09 4.40 4.00 |
38.09 27.64 25.00 |
กระถินณรงค์ | เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมน้อย |
1.20 0.95 0.62 |
8.64 5.92 3.91 |
4.40 3.48 2.27 |
31.68 21.71 14.32 |
กระถินยักษ์ | เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมน้อย |
1.77 1.31 0.21 |
11.32 8.40 1.37 |
6.49 4.80 0.77 |
41.51 30.82 5.02 |
โกงกาง | ไม่ได้จำแนกพื้นที่ | 0.75 | 4.71 | 2.75 | 17.25 |
ยางพารา | ไม่ได้จำแนกพื้นที่ | 1.15 | 7.20 | 4.22 | 26.39 |
ปาล์มน้ำมัน | ไม่ได้จำแนกพื้นที่ | 0.68 | 4.28 | 2.49 | 15.69 |
ป่าธรรมชาติ (ไม้โตช้า) | ไม่ได้จำแนกพื้นที่ | 0.26 | 1.61 | 0.95 | 5.91 |
สวนป่าปลูกผสมผสาน | ไม่ได้จำแนกพื้นที่ | 0.40 | 2.50 | 1.47 | 9.17 |
สวนป่าในเมือง | ไม่ได้จำแนกพื้นที่ | 0.33 | 2.05 | 1.21 | 7.52 |
หมายเหตุ (1) หน่วยเป็น ตันคาร์บอน/ไร่/ปี
(2) หน่วยเป็น ตันคาร์บอน/เฮกแตร์/ปี
(3) หน่วยเป็น ตันคาร์บอนไดออกไซด์/ไร่/ปี
(4) หน่วยเป็น ตันคาร์บอนไดออกไซด์/เฮกแตร์/ปี
เมื่อพิจารณาอัตราส่วนของมวลชีวภาพใต้ดินและมวลชีวภาพเหนือพื้นดินของ ยูคาลิปตัส พบว่า มีการแปรผันค่อนข้างสูง (0.28-0.52) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.39 (ตารางที่ 3) ซึ่งเป็นค่าที่ใกล้เคียงกับ default value ของพรรณไม้ป่าไม่ผลัดใบในเขตร้อน (เท่ากับ 0.37) ที่กำหนดโดย IPCC (2006) และจากการเปรียบเทียบศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมของสักในพื้นที่มีความเหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง และเหมาะสมน้อย พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.66, 1.30 และ 0.86 ตัน/ไร่/ปี ตามลำดับ หรือคิดเป็นอัตราการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยเท่ากับ 6.09, 4.77 และ 3.15 ตัน/ไร่/ปี ตามลำดับ (ตารางที่ 4)
อะคาเซีย
อะคาเซียเป็นพรรณไม้ที่มีรูปแบบการเติบโตในกลุ่มเดียวกับยูคาลิปตัส คือมีอัตราการเติบโตเร็ว รอบตัดฟันสั้น มูลค่าของเนื้อไม้ต่า (คณะวนศาสตร์, 2552) สาหรับ อะคาเซียที่ได้รวบรวมข้อมูลในคู่มือนี้คือ กระถินเทพาและกระถินณรงค์ พบว่า กระถินเทพามีความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีสูงแต่ต่ากว่ายูคาลิปตัส โดยความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของความสูงและเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกมีค่าระหว่าง 1.90-3.10 เมตร/ปี และ 1.82-2.64 เซนติเมตร/ปี ตามลาดับ ขึ้นอยู่กับศักยภาพของพื้นที่ ในขณะที่กระถินณรงค์ มีความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีทั้งความสูงและขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกต่ากว่ากระถินเทพาแต่ข้อมูลการเติบโตของกระถินณรงค์มีค่อนข้างน้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่เหมาะสมมาก และข้อมูลที่พบมีระยะปลูกแคบทำให้ต้นไม้มีขนาดเล็กกว่าระยะปลูกห่างดังนั้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกตามศักยภาพของพื้นที่จึงมีแนวโน้มไม่ชัดเจน(ตารางที่ 2)ผลผลิตของอะคาเซียทั้งสองชนิดซึ่งปลูกด้วยความหนาแน่นที่แตกต่างกันมีมวลชีวภาพต่อพื้นที่ตามจำนวนต้นในพื้นที่ โดยแปลงที่มีจานวนต้นมากกว่ามีมวลชีวภาพต่อพื้นที่มากกว่า (บุญณรงค์, 2538) นอกจากอิทธิพลของระยะปลูกแล้ว อายุของต้นไม้มีผลต่อมวลชีวภาพด้วย โดยมวลชีวภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อต้นไม้อายุมากขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของมวลชีวภาพเหนือดินของอะคาเซียทั้งสองชนิด พบว่า มีค่าแปรผันตามศักยภาพของพื้นที่ โดยกระถินเทพาที่ปลูกในพื้นที่เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง และเหมาะสมน้อย มีความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีเท่ากับ 3.06, 2.22 และ 2.01 ตัน/ไร่/ปี ตามลาดับ ซึ่งมีค่าสูงกว่ากระถินณรงค์ โดยความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของมวลชีวภาพเหนือดินของกระถินณรงค์มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.21, 1.75 และ 1.15 ตัน/ไร่/ปี ตามลาดับ (ตารางที่ 3) เมื่อพิจารณาอัตราส่วนระหว่างมวลชีวภาพใต้ดินและมวลชีวภาพเหนือดินของ อะคาเซียซึ่งข้อมูล ที่พบเป็นกระถินเทพา และกระถินคราสสิคาร์ปา (Acacia crassicarpa) พบว่าค่าค่อนข้างต่ำกว่าพรรณไม้ชนิดอื่นๆ โดยมีค่าเท่ากับ 0.13 (ชิงชัย, 2552) และ 0.07 (Meunpong et al., 2010) ตามลาดับ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการศึกษาของ Miyakuni et al. (2004) ซึ่งทาการศึกษาอัตราส่วนระหว่างมวลชีวภาพเหนือดินและมวลชีวภาพใต้ดินของกระถินเทพาในประเทศอินโดนิเซีย พบว่ามีค่าระหว่าง 0.16-0.19 ดังนั้น ในการศึกษาครั้งนี้จึงเลือกใช้อัตราส่วนระหว่างมวลชีวภาพใต้ดินและมวลชีวภาพเหนือดินของกระถินเทพาซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.13 (ชิงชัย, 2552) จากการเปรียบเทียบศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมของกระถินเทพาในพื้นที่มีความเหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง และเหมาะสมน้อย พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.66, 1.20 และ 1.09 ตัน/ไร่/ปี ตามลาดับ หรือคิดเป็นอัตราการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยเท่ากับ 6.09, 4.40 และ 4.00 ตัน/ไร่/ปี ตามลาดับ ในขณะที่การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมของกระถินณรงค์มีค่าต่ำกว่ากระถินเทพาเล็กน้อย โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.20, 0.95 และ 0.62 ตัน/ไร่/ปี ตามลาดับ หรือคิดเป็นอัตราการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยเท่ากับ 4.40, 3.48 และ 2.27 ตัน/ไร่/ปี ตามลาดับ (ตารางที่ 4)
กระถินยักษ์
กระถินยักษ์เป็นพรรณไม้ที่มีลักษณะการเติบโตคล้ายกับยูคาลิปตัส และอะคาเซีย คือมีอัตราการเติบโตเร็ว รอบตัดฟันสั้น มูลค่าของเนื้อไม้ต่ำ แต่อัตราการเติบโตต่ำกว่าพรรณไม้ข้างต้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนาไปปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม จากการรวบรวมข้อมูลการเติบโต พบว่า กระถินยักษ์ที่ปลูกในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง และเหมาะสมน้อย มีค่าความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของความสูงและเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกอยู่ระหว่าง 1.28-2.11 เมตร/ปี และ 0.90-1.29 เซนติเมตร/ปี ตามลำดับ ขึ้นอยู่กับศักยภาพของพื้นที่ (ตารางที่ 2) ในขณะที่มวลชีวภาพเหนือดินของกระถินยักษ์ในพื้นที่เหมาะสมมาก (2.66 ตัน/ไร่/ปี) และเหมาะสมปานกลาง (1.97 ตัน/ไร่/ปี) มีค่าสูงกว่ากระถินณรงค์ แต่ในพื้นที่เหมาะสมน้อยมีค่าต่ำมากเพียง 0.32 ตัน/ไร่/ปี (ตารางที่ 3) ดังนั้นการคัดเลือกพื้นที่ปลูกให้เหมาะสมกับกระถินยักษ์จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมใช้อัตราส่วนของมวลชีวภาพใต้ดินและมวลชีวภาพเหนือดินเท่ากับ 0.39 ซึ่งทาการศึกษาโดยชิงชัย (2552) พบว่า ศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมของกระถินยักษ์ในพื้นที่มีความเหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง และเหมาะสมน้อย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.77, 1.31 และ 0.21 ตัน/ไร่/ปี ตามลาดับ หรือคิดเป็นอัตราการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยเท่ากับ 6.49, 4.80 และ 0.77 ตัน/ไร่/ปี ตามลำดับ (ตารางที่ 4)
พรรณไม้ป่าชายเลน
พรรณไม้ป่าชายเลน ได้แก่ โกงกางใบเล็ก และโกงกางใบใหญ่ มีอัตราการเติบโตค่อนข้างต่ำ ในช่วงแรก และเพิ่มสูงขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น จากการรวบรวมข้อมูลความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของความสูงและเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกของโกงกางใบเล็ก ตั้งแต่อายุ 1-15 ปี ในท้องที่ป่าชายเลนจังหวัดปัตตานี (Chanprapai, 2005) และจังหวัดนครศรีธรรมราช (อรวรรณ, 2546) พบว่ามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.68 เมตร/ปี และ 0.79 เซนติเมตร/ปี ตามลาดับ (ตารางที่ 2) และจากการรวบรวมข้อมูลมวลชีวภาพเหนือดินของโกงกางใบเล็กและโกงกางใบใหญ่ พบว่า โกงกางใบเล็กมีมวลชีวภาพเหนือดินเพิ่มขึ้นตามอายุ (อรวรรณ, 2546) จากการวิเคราะห์รูปแบบการเติบโตของสังคมพืชป่าชายเลน ทั้งที่เป็นป่าปฐมภูมิ (primary forest) และป่าทุติยภูมิ (secondary forest) ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการเจริญทดแทนตามธรรมชาติ (natural regeneration) และ/หรือ การจัดการโดยมนุษย์ เช่น การฟื้นฟูป่า การปลูกเสริมป่าธรรมชาติ ซึ่งใช้โกงกางเป็นหลัก โดยคณะวนศาสตร์ (2550) ได้ศึกษาผลผลิตของสังคมพืชป่าชายเลนจังหวัดระนอง และพังงา และรวบรวมข้อมูลการเติบโตจากการข้อมูลงานวิจัยอื่นๆ (Chanprapai, 2005; Hassan, 2006) นำมาสร้างสมการความสัมพันธ์ ได้รูปแบบและลักษณะความสัมพันธ์แบบสมการ logistics โดยที่ความเพิ่มพูนรายปีของมวลชีวภาพเหนือดินค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามอายุ และมีค่าสูงสุดเท่ากับ 19.87 ตัน/เฮกแตร์/ปี (3.18 ตัน/ไร่/ปี) เมื่ออายุ 9 ปี และอัตราความเพิ่มพูนเริ่มลดลงหลังจากนั้น ในคู่มือเล่มนี้ จึงได้รวบรวมข้อมูลมวลชีวภาพเหนือดินของโกงกางใบเล็ก อายุ 1-15 ปี ในพื้นที่ต่างๆ และสามารถสรุปได้ว่าความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของมวลชีวภาพเหนือดินของโกงกางใบเล็กมีค่าเท่ากับ 1.06 ตัน/ไร่/ปี (ตารางที่ 3) อัตราส่วนระหว่างมวลชีวภาพใต้ดินและมวลชีวภาพเหนือดินของป่าชายเลนมีการแปรผันตามสังคมพืช โดยอัตราส่วนระหว่างมวลชีวภาพใต้ดินและมวลชีวภาพเหนือดินของสังคมไม้สกุลโกงกาง (Rhizophora zone) มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 0.38-0.58 สังคมไม้สกุลถั่ว (Brugueira zone) มีค่าเฉลี่ยระหว่าง 0.22-0.33 และสังคมไม้สกุลลาแพน (Sonneratia zone) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.19 (Komiyama et al., 2000) ในการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมของพรรณไม้ป่าชายเลนจึงใช้อัตราส่วนระหว่างมวลชีวภาพใต้ดินและมวลชีวภาพเหนือดินเท่ากับ 0.48 ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยของสังคมไม้สกุลโกงกาง ดังนั้น การกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมของโกงกางมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.75 ตัน/ไร่/ปี หรือคิดเป็นอัตรา การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยเท่ากับ 2.75 ตัน/ไร่/ปี ซึ่งค่อนข้างสูงกว่าพรรณไม้พื้นเมืองอื่นๆ (ตารางที่ 4)
พืชเกษตร
ข้อมูลการเติบโตของยางพารา และปาล์มน้ามันยังมีอยู่น้อย ส่วนใหญ่ที่พบเป็นข้อมูลของผลผลิตน้ำยางหรือน้ามัน จึงไม่ได้จำแนกข้อมูลตามศักยภาพของพื้นที่ จากการรวบรวมข้อมูลการเติบโตของยางพารา พบว่า มีการแปรผันไปตามอายุ และท้องที่ โดยมีความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของความสูงและเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก เท่ากับ 1.12 เมตร/ปี และ 1.09 เซนติเมตร/ปี ตามลาดับ (ตารางที่ 2) ในขณะที่การเติบโตของปาล์มน้ำมันไม่พบข้อมูล สาหรับข้อมูลมวลชีวภาพเหนือดินของยางพารา พบว่ามีค่าเพิ่มขึ้นตามอายุเช่นเดียวกับพรรณไม้ชนิดอื่นๆ (อารักษ์, ม.ป.ป.) โดยมีค่าความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีมีค่าเท่ากับ 1.80 ตัน/ไร่/ปี ในขณะที่ความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของมวลชีวภาพเหนือดินของปาล์มน้ำมัน มีค่าเท่ากับ 1.19 ตัน/ไร่/ปี ทั้งนี้ยางพาราและปาล์มน้ามันมีอัตราส่วนระหว่างมวลชีวภาพใต้ดิน และมวลชีวภาพเหนือดินเฉลี่ยเท่ากับ 0.33 และ 0.41 ตามลาดับ (ตารางที่ 3) จากการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมโดยใช้อัตราส่วนของมวลชีวภาพใต้ดินและมวลชีวภาพเหนือดินข้างต้น พบว่า ศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมของยางพารามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.15 ตัน/ไร่/ปี หรือคิดเป็นอัตราการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยเท่ากับ 4.22 ตัน/ไร่/ปี ซึ่งใกล้เคียงกับกระถินณรงค์ ในขณะที่ปาล์มน้ำมันมีศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมเฉลี่ยเท่ากับ 0.68 ตัน/ไร่/ปี หรือคิดเป็นอัตราการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เฉลี่ยเท่ากับ 2.49 ตัน/ไร่/ปี (ตารางที่ 4) ซึ่งต่ำกว่ายางพารา
พรรณไม้อื่นๆ
ข้อมูลการเติบโตและการกักเก็บคาร์บอนของพรรณไม้อื่นๆ จำแนกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ พรรณไม้พื้นเมืองโตช้า พรรณไม้อเนกประสงค์ และพรรณไม้ที่ปลูกในเมืองพรรณไม้พื้นเมืองโตช้า บางชนิดเป็นไม้เศรษฐกิจที่มีรอบตัดฟันยาว และเนื้อไม้มีมูลค่าค่อนข้างสูงถึงสูงมาก จากการศึกษาของคณะวนศาสตร์ (2552) โดยใช้ประดู่ป่า และพะยูงเป็นกรณีศึกษา พบว่ามีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอกเพิ่มขึ้นตามอายุในรูปแบบความสัมพันธ์แบบฟังก์ชันยกกาลัง เช่นเดียวกับสัก หรือกระถินเทพณรงค์ แต่มีความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก ประมาณ 0.9 และ 0.6 เซนติเมตร/ปี ตามลาดับ ข้อมูลของพรรณไม้ในกลุ่มนี้จากการรวบรวมส่วนใหญ่เป็นประดู่ป่า แดง ยางนา พะยูง และตะเคียนทอง โดยมีค่าความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของความสูง เส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก และมวลชีวภาพเหนือดิน เท่ากับ 0.74 เมตร/ปี 0.76 เซนติเมตร/ปี (ตารางที่ 2) และ 0.42 ตัน/ไร่/ปี (ตารางที่ 3) ตามลำดับ จากการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมใช้อัตราส่วนของมวลชีวภาพใต้ดินและมวลชีวภาพเหนือดิน เท่ากับ 0.26 พบว่า ศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเพียง 0.26 ตัน/ไร่/ปี หรือคิดเป็นอัตราการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยเท่ากับ 0.95 ตัน/ไร่/ปี (ตารางที่ 4) พรรณไม้อเนกประสงค์ ส่วนใหญ่เป็นไม้ที่ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง บางชนิดปลูกร่วมกับพืชเกษตรในระบบวนเกษตร บางชนิดเป็นไม้โตเร็ว ข้อมูลที่มีของพรรณไม้ในกลุ่มนี้เป็นสะเดา และขี้เหล็กบ้าน โดยมีค่าความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของความสูงเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก และมวลชีวภาพเหนือดิน เท่ากับ 1.90 เมตร/ปี 2.16 เซนติเมตร/ปี (ตารางที่ 2) และ 0.61 ตัน/ไร่/ปี (ตารางที่ 3) ตามลาดับ จากการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมใช้อัตราส่วนของมวลชีวภาพใต้ดินและมวลชีวภาพเหนือดิน เท่ากับ 0.33 ซึ่งเป็นข้อมูลของประดู่ป่า พะยอม และแดง พบว่า ศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.40 ตัน/ไร่/ปี หรือคิดเป็นอัตราการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยเท่ากับ 1.47 ตัน/ไร่/ปี (ตารางที่ 4) พรรณไม้ปลูกในเมือง ข้อมูลการเติบโตและมวลชีวภาพที่มีทั้งหมดเป็นข้อมูลของสัตบรรณ จึงนำมาใช้เป็นตัวแทนของพรรณไม้ในกลุ่มนี้ โดยมีค่าความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของความสูง และเส้นผ่าน-ศูนย์กลางที่ระดับชิดดิน เท่ากับ 1.06 เมตร/ปี และ 2.77 เซนติเมตร/ปี ตามลาดับ (ตารางที่ 2) และความเพิ่มพูนเฉลี่ยรายปีของมวลชีวภาพเหนือดิน เท่ากับ 0.52 ตัน/ไร่/ปี (ตารางที่ 3) จากการประเมินการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมใช้อัตราส่วนของมวลชีวภาพใต้ดินและมวลชีวภาพเหนือดิน เท่ากับ 0.28 ซึ่งเป็น default value (IPCC, 2006) พบว่า ศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพรวมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.33 ตัน/ไร่/ปี หรือคิดเป็นอัตราการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ยเพียง 1.21 ตัน/ไร่/ปี (ตารางที่ 4) จากข้อมูลทั้งหมดข้างต้นเห็นได้ว่าการเติบโต มวลชีวภาพ และการกักเก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพ หรือ การดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของพรรณไม้มีการแปรผันระหว่างชนิด/กลุ่มของพรรณไม้สูงและในพรรณไม้ชนิดเดียวกันยังมีการแปรผันค่อนข้างสูงเมื่อนาไปปลูกในสภาพของพื้นที่ที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพรรณไม้ที่ต้องการพื้นที่เฉพาะ (site selective species) ดังนั้น การนำข้อมูลอัตราการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของพรรณไม้ชนิดใดๆ ไปใช้ จึงควรคำนึงถึงสภาพของพื้นที่ประกอบด้วย