ใบยาสูบเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่โรงงานยาสูบมีนโยบายส่งเสริมเกษตรกรชาวไร่ยาสูบตลอดกระบวนการ ตั้งแต่เริ่มการเพาะปลูกโรงงานยาสูบได้ให้การสนับสนุนแก่เกษตรกรผู้เพาะปลูก อย่างเต็มที่โดยเริ่มด้วยการคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ แนะนำการเพาะปลูกและดูแลจากศูนย์วิจัยพันธุ์ยาสูบ และที่สำคัญคือ การสนับสนุนเงินในการสร้างโรงบ่มใบยาขึ้น ซึ่งให้ประโยชน์มากมายแก่เกษตรกร เพราะนอกจากจะใช้บ่มยาสูบแล้ว ยังใช้บ่มผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆได้อีกด้วย เป็นการเพิ่มประโยชน์แก่เกษตรกร และยังเป็นโรงบ่มใบยาแบบประหยัดพลังงานอีกต่างหาก ตลอดจนรับซื้อใบยาในราคาที่เป็นธรรม หลังเสร็จสิ้นกระบวนการ
การบ่มใบ ยาสูบนอกจากการบ่มแบบเก่าแล้ว ที่น่าสนใจ คือ การที่โรงงานยาสูบสนับสนุนเงิน 160,000 บาท และชาวไร่ออกเงินเองอีก 160,000 บาท รวมมูลค่า 480,000 บาท ในการสร้างโรงบ่มแบบประหยัดพลังงานขึ้นมาใช้ โดยจะมีฉนวนกับความร้อนรอบผนังทั้งสี่ด้านและพัดลงดันไอร้อนภายในโรงบ่ม โรงบ่มแบบใหม่สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในโรงบ่มได้ดี จึงสามารถบรรจุใบยาได้มากกว่าโรงบ่มแบบเก่า นับว่าคุ้มค่าและประหยัดพลังงานขึ้นกว่าเดิมมากทีเดียว
บทบาทของโรงงานยาสูบที่มีต่อชาวเกษตรกรยาสูบ
โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง เป็นรัฐวิสาหกิจ ที่มีบทบาทส่งเสริมและให้การสนับสนุนการปลูกต้นยาสูบ เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การดูแล สูตรปุ๋ยที่เหมาะสม การควบคุมสานนิโคตินในใบยาการควบคุมปริมาณย่าฆ่าแมลง การเก็บเกี่ยว การคัดแยก และการบ่ม รวมไปถึงการออกเงินสร้างโรงบ่มให้กลับเกษตรกรหลังละ 50,000 บาท (ต้นทุนต่อหลังประมาร 100,000 บาท) โดยเริ่มโครงการนี้มาแล้ว 3 ปี
การควบคุมคุณภาพใบยาสูบภายใต้มาตรฐาน GAP ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ให้การสนับสนุนด้านการเงิน โดยร่วมมือกับธนาคารออมสินให้ปล่อยกู้แก่เกษตรกรโดยไม่ต้องมีหลักประกัน (ใช้เป็นหลักประกันกลุ่ม) โดยทางโรงงานยาสูบ จะแจ้งโควตารับซื้อให้แก่เกษตรกร ก่อนทำการเพาะปลูกชัดเจนและรับซื้อจริงตามที่ตกลงไว้ จึงเป็นหลักประกันที่น่าเชื่อถือได้
ศูนย์วิจัยพันธุ์ยาสูบที่แม่โจ้ เพื่อพัฒนาเมล็ดพันธุ์แจกจ่ายให้กับเกษตรกรโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ตัวอย่างความสำเร็จได้แก่ ยาสูบพันธุ์เตอร์กิช ซึ่งเป็นสายพันธุ์ต่างประเทศที่สามารถปรับปรุงพัฒนาให้ปลูกในภาคอีสานได้ รวมถึงสวัสดิการอื่นๆ เช่น การตรวจสุขภาพประจำปี มอบทุนการศึกษาแก่ลูกหลานเกษตรกร เป็นต้น
ยาสูบ จัดเป็นผู้ควบคุมภายใต้พระราชบัญญัติยาสูบ ซึ่งควบคุมโดยกรมสรรสามิต เป็นพืชที่ใช้ใบในการให้ผลผลิตและใช้เป็นวัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมการผลิตบุหรี่ ซึ่งประเทศไทยจะปลูกกันมากในพื้นที่ภาคเหนือและอีสาน โดยการดำเนินการต่างๆ จะต้องขออนุญาตและรายงานต่อกรมสรรพสามิตทุกปี ซึ่งผลผลิตเกือบทั้งหมดจะส่งให้แก่โรงงานยาสูบและบริษัทส่งออกเอกชน ปัจจุบันใบยาสูบในประเทศที่ใช้ในการผลิตบุหรี่ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ใบยาเวอร์ยิเนีย ใบยาเบอร์เลย์ และใบยาเตอร์กิช ซึ่งทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นใบยาสูบที่โรงงานยาสูบส่งเสริม